วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อนุพันธ์และปริพันธ์ของฟังก์ชันอดิศัย

> ฟังก์ชันไฮเพอร์โบลิก
บทนิยาม 1.5.1 ฟังก์ชันไฮเพอร์โบลิกไซน์ (hyperbolic sine function) แทนด้วย sinh และฟังก์ชันไฮเพอร์โบลิกโคไซน์ (hyperbolic cosine function) แทนด้วย cosh นิยามดังนี้
    
สำหรับทุกจำนวนจริง x
ตัวอย่าง 1.5.1 จงหา sinh(0) และ cosh(0)
วิธีทำ                 1. 
                                                      2. 
 
ตัวอย่าง 1.5.2 จงพิสูจน์ว่า
                           1. sinh(– x) = – sinh(x)
                           2. cosh(– x) = cosh(x)
พิสูจน์                1.    =    = – sinh(x)
                           2.    =    = cosh(x)


วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

อนุพันธ์และปริพันธ์ของฟังก์ชันอดิศัย




 ฟังก์ชันลอการิทึมธรรมชาติ

บทนิยาม 1.1.1 ฟังก์ชันลอการิทึมธรรมชาติ (natural logarithmic function) แทนด้วยสัญลักษณ์ ln นิยามดังนี้
 สำหรับทุก x ในช่วง (0, ? )
ข้อสังเกต 1. โดยทฤษฎีมูลหลักของแคลคูลัส (The First Fundamental Theorem of Calculus) จะได้ว่า
 สำหรับทุก x > 0 แสดงว่า ln เป็นฟังก์ชันเพิ่มบนช่วง (0, ? )
                  2. เนื่องจาก ln หาอนุพันธ์ได้บนช่วง (0, ? ) ดังนั้น ln ต่อเนื่องบนช่วง (0, ? )
                  3. ถ้า x > 1 จะได้ว่า  คือ พื้นที่ใต้กราฟของ  เมื่อ จาก t =1 ถึง t = x

ทรัพยากรแร่ธาตุ

ความสำคัญของแร่ธาตุ
          

          1. ด้านความมั่นคงและมั่งคั่งของประเทศ ประเทศที่มีแร่ธาตุต่าง ๆ มากมายและสามารถนำไปใช้แปรรูปเป็นผลผลิตต่าง ๆ ที่ทำประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น ด้านอาวุธ ด้านอุตสาหกรรม
          2. ด้านความเป็นอยู่ของมนุษย์ ได้มีการนำแร่ธาตุต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์และสร้างขึ้นเป็นสิ่งต่าง ๆ เช่น ภาชนะใช้สอย พาหนะที่ช่วยในการคมนาคม อาคารบ้านเรือน ก๊าซหุงต้ม พลังงานไฟฟ้า
          3. ด้านการสร้างงานแก่ประชาชน ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการขุดแร่ ไปจนถึงแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ไปสู่ผู้บริโภค
          นอกจากนี้แร่ธาตุชนิดต่าง ๆ มีคุณสมบัติต่างกัน จึงมีประโยชน์แตกต่างกัน เช่น แร่วุลแฟรม นำมาทำไส้หลอดไฟฟ้า ใช้ในอุตสาหรกรรมเครื่องแก้ว แร่พลวงนำมาใช้ทำตัวพิมพ์หนังสือ ทำสี แบตเตอรี รัตนชาติ เป็นแร่ที่มีสีสันสวยงาม นำมาใช้ทำเครื่องประดับต่าง ๆ มากมาย



วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความหมยของ นวัตกรรมทการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา

ความหมายของนวัตกรรม

“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)